กทม.รุดเยี่ยม“เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า” ชมหม้อแปลงอัจฉริยะชับเมอร์ส ร่วมแก้ไขปัญหาทัศนียภาพในพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์

ผู้ว่า กทม. ส่งเจ้าหน้าที่ สำนักงานวิศวกรรมทาง สำนักการโยธาและคณะระบบสายใต้ดิน นำโดย นายประสิทธิ์ อินทโฉม ผู้อำนวยการเยี่ยมชมและหารือ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สิค้าบัญชีนวัตกรรมหม้อแปลงชับเมอร์ส ร่วมแก้ไขปัญหาทัศนียภาพในพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ในพื้นที่กรุงเทพชั้นใน เพื่อระบบไฟฟ้ามั่นคงปลอดภัย  เพื่อการยกระดับเกาะรัตนโกสินทร์เป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็น SMART CITY ที่สมบูรณ์ในภูมิภาพอาเซียน

ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมออกมาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งการจัดระเบียบสายไฟ สายสื่อสารนำลงดิน โดยเฉพาะเส้นทางหลักต่างๆ ในพื้นที่ กทม. นนท์บุรี และสมุทรปราการ หลังแผนการดำเนินงานมีความล่าช้ายืดเยือมานาน และรัฐบาลได้นำปัญหาดังกล่าว เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อหาทางออก และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาทรรศนะอุจาด สายไฟฟ้า เสาไฟฟ้า สายสื่อสาร ที่ห้อยระโยงไม่น่าดู

สำหรับสาเหตุปัญหาความล่าช้าที่ผ่านมาในการนำสายไฟลงดินนั้น เนื่องจากว่า ไม่มีหน่วยงานหลักกำกับดูแล แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มองว่าไม่ใช่ภารกิจหลัก แต่ละหน่อยงานมี พ.ร.บ. เป็นของตนเองที่มี ศักดิ์เท่ากัน ไม่มีเชื่อมโยง พ.ร.บ. เข้าด้วยกัน ทำให้เกิดช่องว่าง มีปัญหาทรรศนะอุจาดการพาดสาย ไม่มีกฎหมายควบคุมโดยตรง ไม่มีหน่วยงานที่อำนาจสั่งการ การทำงานปัจจุบันอาศัยนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก 

ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้การดำเนินการนำสายไฟลงดินมีปัญหาล่าช้า จนกระทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการให้จัดระเบียบสายสื่อสารต่างๆ ทั้งสายสื่อสารและสายไฟ โดยมอบหมายให้ทาง กสทช. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กทม. กฟน. กฟภ. ให้ดำเนินการนำสายไฟและสายสื่อสารเหล่านี้ลงดินอีกครั้ง โดยเฉพาะเส้นทางหลักต่างๆ และให้มีสายหลักเข้าบ้านเพียงสายเดียว

ในช่วงที่ผ่านมา กรุงเทพมหานคร ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ให้สอดคล้องยุควิถีใหม่ การเป็นเมืองสวยไร้สาย ตามนโยบายการเป็น SMART CITY เพื่อการรองรับการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ หลังจากโควิด 19 จางลง โดยเฉพาะรอบเกาะรัตนโกสินทร์ตั้งอยู่บนพื้นที่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก และคลองรอบกรุงทางทิศตะวันออก โดยมีคลองคูเมืองเดิมแทรกกลางแบ่งเป็นพื้นที่ชั้นใน และพื้นที่ชั้นนอก เกาะรัตนโกสินทร์ประกอบด้วยพื้นที่ 4.10 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,563 ไร่ อันประกอบด้วยเขตแหล่งท่องเที่ยว 9 แขวง ได้แก่ แขวงพระบรมมหาราชวัง แขวงวังบูรพาภิรมย์ แขวงวัดราชบพิธ แขวงสำราญราษฎร์ แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ แขวงเสาชิงช้า แขวงชนะสงคราม แขวงตลาดยอด และแขวงบวรนิเวศ พื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของชุมชนและย่านเก่าแก่มีความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ และสถานที่สำคัญระดับชาติมากมาย มีพระราชวัง 5 แห่ง มีกระทรวงที่บริหารราชการของประเทศ 3 แห่ง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และกระทรวงยุติธรรม มีศาสนาสถานทุกศาสนา มากกว่า 20 แห่ง รวมทั้งวัดราชบพิธอันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อระดับโลกแทบทั้งสิ้น

ปัจจัยที่อาจเป็นอุปสรรคและความท้าทายต่อการพัฒนาเมืองในยุควิถีใหม่ (new normal) ไม่ว่าจะเป็นสายไฟที่ห้วยระโยงอยู่ ควรมีการปรับปรุงนำลงดินทั้งระบบไม่ว่าจะเป็น สายไฟ เสาไฟ หม้อแปลงไฟฟ้า สายสื่อสาร เพื่อสร้างภูมิทัศน์ ทัศนีย์ภาพอันสวยงานของเกาะรัตนโกสินทร์ดูสวยงาม เพื่อการเตรียมความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวที่จะมาเยื้องในเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งแน่นอนที่สุดการท่องเที่ยวถือเป็นปัจจัยหลักในการสร้างรายได้ที่สำคัญของประเทศ ที่จะนำเม็ดเงินเข้ามาบริหารประเทศในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาด COVID-19 ที่ยืดเยื้อยาวนาน 

ด้านนายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทชัย หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ผู้ผลิตหม้อแปลงอัจฉริยะ Submersible transformer นวัตกรรมใหม่ของหม้อแปลงไฟฟ้า ที่มีระบบจำหน่ายตอบโจทย์งานระบบไฟฟ้าใต้ดิน เป็นรายแรกของไทย และอาเซียน เปิดเผยว่า จากความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ที่มีแหล่งท่องเที่ยวติดอันดับโลกมากมาย ทั้งแหล่งศิลปวัฒนธรรม โบราณสถาน วีถีชีวิตชุมชนโบราณรอบรัตนโกสินทร์ด้วยประการดังกล่าว ทางบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ขอร่วมการสนับสนุนการนำสายไฟลงดินทั้งระบบ และทางบริษัทฯ ขอขอบคุณท่านอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชกการกรุงเทพมหานคร ที่ได้ส่งทีมงานกรุงเทพฯ นำคณะโดย นายประสิทธิ์ อินทโฉม ผู้อำนวยการสำนักงานวิศวกรรมทาง สำนักการโยธาและคณะระบบสายใต้ดิน ให้เกียรติเยี่ยมชม และปรึกษาหารือ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สิค้าบัญชีนวัตกรรมหม้อแปลงชับเมอร์ส ร่วมแก้ไขปัญหาทัศนียภาพในพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ในพื้นที่กรุงเทพชั้นใน เพื่อระบบไฟฟ้ามั่นคงปลอดภัย  เพื่อการยกระดับเกาะรัตนโกสินทร์เป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็น SMART CITY ที่สมบูรณ์ในภูมิภาพอาเซียน

ในการเยี่ยมชมครั้งนี้ทางบริษัทฯ ได้ทำการสาธิต ภาพจำลองการใช้สินค้าบัญชีนวัตกรรมหม้อแปลงชับเมอร์ส ถึงคุณสมบัติ ความพร้อมในการนำหม้อแปลงลงดิน เพื่อการรองรับปรับปรุงแก้ไขทัศนียภาพของหม้อแปลงที่อยู่รอบเกาะรัตนโกสินทร์

“นอกจากการเสริมสร้างปรับปรุงทัศนียภาพของพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์แล้ว บริษัท เจริญชัย หม้อแปลงไฟฟ้า ยังได้เล็งเห็นความสำคัญด้านอัคคีภัย ด้านความปลอดภัยต่อประชาชนและสังคม ซึ่งหม้อแปลงไฟฟ้า ชนิดจมน้ำ เกิดขึ้นที่อเมริกามานานประมาณ 100 ปีตั้งแต่ปี 1925 ซึ่งบริษัท เจริญชัย หม้อแปลงไฟฟ้า ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำสายไฟฟ้าลงดินทั้งระบบ และเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน สังคม ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาภาพอุจาดตา ลดความเสี่ยงด้านอัคคีภัย สร้างความปลอดภัย ลดอุบัติเหตุต่อประชาชนและพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว (ค้าขาย) รองรับการเติมโตทางเศรษฐกิจ สร้างทัศนียภาพสวยงามเสริมระบบไฟฟ้าให้มั่นคงเสถียรภาพ ลดค่าใช้จ่ายการตัดต้นไม้ และการมุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *