กระทรวงกลาโหมโชว์เครื่องมือไฮเทคในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ปี 67

กระทรวงกลาโหมโชว์เครื่องมือไฮเทคในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ปี 67 ทั้งเครื่องมือไอเทคทั้งเครื่องฝึกบินจำลอง Flight Simulator เครื่องฝึกจำลองการเดินเรือ ทุ่นวิเคราะห์เสียงใต้น้ำ(โซนายุบ SONOBUOY)
รวมทั้งชมความสามารถของ “สุนัขทหาร” จาก 3 กองพัน วันละ 2 รอบ

กระทรวงกลาโหม ได้นำนิทรรศการจาก กองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศเข้าร่วมจัดแสดงในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2567 โดยมีไฮไลท์สุดล้ำมากมาย อาทิ “เครื่องฝึกบินจำลอง Flight Simulator” ของกองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมสารบรรณทหารอากาศ Flight Simulator หรือ ระบบการฝึกบินจำลองเป็นระบบที่ช่วยให้นักบินสามารถฝึกบิน “อากาศยาน” ได้โดยไม่ต้องอาศัยอากาศยานจริงๆ โดยเป็นระบบและโมเดลของอากาศยานเสมือนจริง และ “เครื่องฝึกจำลองการเดินเรือแบบเคลื่อนย้ายได้” จากกรมยุทธศึกษาทหารเรือ ซึ่งเป็นการฝึกขับเรือเสมือนจริงที่จะสร้างความสนุกสนานและตื่นเต้นให้กับน้องๆ และเยาวชนที่มาเที่ยวชมชมงาน

อีกไอไลท์ที่พลาดไม่ได้ กับ “การแสดงความสามารถของสุนัขทหาร” ของกองร้อยปฏิบัติการพิเศษ 3 กองพันปฏิบัติการพิเศษ 3 กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน ที่จัดแสดงวันละ 2 รอบ รอบที่ 1 เวลา 10.00 – 10.20 น.และรอบที่ 2 เวลา 13.15 – 13.35 น. พาไปชมความน่ารักของสุนัขทหารที่ได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี ทั้งคล่องแคล่ว เรียนรู้ได้ไว ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และสภาวะการปฏิบัติที่หลากหลายทั้งการตรวจหาวัตถุระเบิด การตรวจค้นหายาเสพติด หรือการแกะรอยด้วยสายตา หูและการดมกลิ่นที่เหนือกว่ามนุษย์มาให้ชมกันทุกวัน

นอกจากนี้กระทรวงกลาโหม ยังได้นำ “เครื่องรบกวนสัญญาณวิทยุแบบเข้ารหัสสัญญาณ DTMF” ซึ่งใช้สำหรับตรวจหาสัญญาณโทรศัพท์มือ เพจเจอร์ ไวไฟ รีโมทคอนโทรล ที่ช่วยแก้ปัญหาความรุนแรงจากการใช้ระเบิดแสวงเครื่องในพื้นที่เสี่ยงหรืออันตราย มาจัดแสดงด้วย พร้อมมีการโชว์ “โดรนไฮบริด” ซึ่งสามารถให้เวลาการทำงานของโดรนนานขึ้น และขยายเส้นทางการบินของโดรนได้ สามารถแบกน้ำหนักได้ถึง 10 กิโลกรัม ทั้งยังสามารถดัดแปลงเป็นโดรนการเกษตรได้อีกด้วย

และอีกหนึ่งผลงานที่โดดเด่นของกระทรวงกลาโหม ‘ทุ่นวิเคราะห์เสียงใต้น้ำ (โซนายุบ SONOBUOY)’ ที่สามารถวิเคราะห์เสียงใต้น้ำได้ โดยสามารถแยกแยะเรือกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญสามารถวิเคราะห์การเกิดสึนามิได้ เป็นเครื่องมือสำคัญในการเฝ้าระวังและป้องกันภัยทางทะเล ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าประทับใจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *