พร้อมแถลงผลสำเร็จ NRCT Open House 2021……วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการประชุมชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 และ แถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม NRCT Open House 2021 “วิจัยและนวัตกรรมในประเด็นท้าทายของประเทศ” ระหว่างวันที่ 18 – 25 กรกฎาคม 2564 ในรูปแบบออนไลน์ผ่านวีดีทัศน์ทางไกล (VDO Conference) ด้วยระบบ Zoom และการถ่ายทอดสด (Live Steaming) ผ่าน Facebook NRCT
เป็นวันที่ 3 เพื่อชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 ด้านเศรษฐกิจและการเกษตร และด้าน สัตว์เศรษฐกิจ ของ วช. และแนวทางการเขียนและพิจารณาข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรมและเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเขียนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรมและการยื่นขอทุน วช. โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมออนไลน์ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งซาติ (วช.) เป็นส่วนราชการทำหน้าที่เป็นหน่วยงานบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม โดยหนึ่งในประเด็นที่ วช. ได้รับมอบหมายคือ การสร้างมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความสอดรับกับโจทย์ที่มีความสำคัญต่อความต้องการในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยภายในการประชุมดังกล่าว มีการชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ด้านเศรษฐกิจและการเกษตร และด้านสัตว์เศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ 2565 ภายใต้ โปรแกรมที่ 7 แก้ไขปัญหาท้าทายและยกระดับการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและการเกษตร
กิจกรรมภายในงาน มีการเสวนาเรื่อง “Research Question…ก้าวต่อไปพืชเศรษฐกิจไทย” ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ รุ่งเมฆารัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ และมี รองศาสตราจารย์ ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต เป็นผู้ดำเนินการเสวนา และมีการเสวนาเรื่อง “วิจัยและนวัตกรรมกับการส่งเสริมแมลงกินได้ (จิ้งหรีดไทย)…โปรตีนแห่งอนาคต” ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นางสาวสุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ รองศาสตราจารย์ ดร.จิราพร กุลสาริน และนายสัตวแพทย์นพพร โต๊ะมี นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายเรื่อง “เทคนิคการเขียนข้อเสนอการวิจัย” โดย นางสุนันทา สมพงษ์ ตลอดจนการแถลง “ผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจและการเกษตร และด้านสัตว์เศรษฐกิจ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเขียนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรมและการยื่นขอทุน วช.” ของนักวิจัย จำนวน 7 ท่าน ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ประกิจ สุขใย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนพล ไชยแสน รองศาสตราจารย์ ดร.นิรันดร มาแทน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สุชีวะ รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี หอมเขียว และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินการโครงการวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน