“เอนก” เดินหน้า “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” เปิดโครงการ “เกษียณมีดี” ส่งเสริมวัยเกษียณสู่วัยสร้างสรรค์ผลงาน

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดตัวโครงการ “เกษียณมีดี” พลังเกษียณสร้างชาติ : ระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาทักษะงานในยุคดิจิทัลสำหรับผู้สูงวัย และระบบสนับสนุนเชิงเทคนิคของคนรุ่นใหม่สู่การนำไปใช้ที่ยั่งยืน จัดโดย วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ นายวัลลพ สงวนนาม


เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดเชียงใหม่ นายวรวัจน์ สุวคนธ์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงาน SCB Academy ธนาคารไทยพาณิชย์ นายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานภาคเหนือ และกลุ่มเป้าหมายพิเศษ (ศกพ.) เข้าร่วมกิจกรรม ณ หอคำทวี Horizon Village Resort และสวนพฤกษศาสตร์ทวีชล อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า โครงการ “เกษียณมีดี” พลังเกษียณสร้างชาติ ที่ มช. ริเริ่มทำในภาคเหนือ พยายามคิดเรื่องผู้สูงวัยให้เป็นพลังและโอกาส มีวิธีคิดในการจัดการผู้สูงวัย เปลี่ยนให้เป็นโอกาสของประเทศ ในการนำคนที่มีประสบการณ์ในชีวิต อย่าดูถูกคนสูงวัย มีความสุขที่แท้จริงตอนสูงวัย ผู้สูงวัยรวมกลุ่มกันก็จะทำให้แก่ทันที กิจกรรมของผู้สูงวัย อยากให้แทรกซึมกับคนทุกวัย โรงเรียนผู้สูงวัย ควรมีหนุ่มสาวด้วย นายกรัฐมนตรีบอกว่าแม้แต่ที่ให้มารับเงินสงเคราะห์คนสูงวัยติดเตียงมาไม่ได้ ควรแก้ปัญหายังไง กิจกรรมโรงเรียนถือว่าดีมาก อยากให้เติมเข้าไป ให้เด็กเห็นคุณค่าของผู้สูงวัย ผู้สูงวัยต้องเป็นตัวอย่างให้เด็กเห็นคุณค่า ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่น ที่มีโรงเรียนเอาเด็กเล็กมาฝากที่ผู้สูงวัยเลี้ยง เพื่อสร้างมายเซท ที่ทำยังไงให้ผู้สูงวัยอยู่กันเหมือนญาติพี่น้อง ลูกหลาน สมมติสร้างความเป็นครอบครัว สมมติ ทำเพราะรู้สึกดี จากประสบการณ์น่าศึกษา สร้างความรู้สึกให้เหมือนครอบครัวทั้งหลายแก้ปัญหาผู้สูงอายุอย่าหวังจากรัฐ ต้องมีเอกชนเข้าช่วย ภาคสังคมต้องเข้มแข็ง ท้องถิ่นต้องเข้ามาช่วย มีพระเข้าช่วย มีเครือข่ายมาช่วย เสริมงานให้ดีขึ้น ทำสังคมสงเคาะห์เป็นอาชีพ แนวคิดต่างประเทศโลกเปลี่ยนไปเรื่อย ต้องปรับตาม ปฏิเสธนักสังคมสงเคราะห์ไม่ได้ อว. ไม่ได้ทำแต่วิจัย หรือสอน บนหอคอยงาช้าง ความเป็นเลิศทางวิชาการ ทำเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมากขึ้น จึงได้เรียนเชิญหลายฝ่ายมาสมทบทุนในการทำวิจัย เอาทรัพยากรที่มีอยู่มาทำงบวิจัยเพื่อผู้สูงวัย มช. ยังมีหน้าที่ช่วยคนเชียงใหม่และจังหวัดอื่น ช่วยดูแลผู้สูงวัยคนที่อยู่ล้อมรอบมหาลัย มหาลัยต้องหายใจร่วมกัน ต้องการอะไรก็ต้องหามาให้ ผลงานมหาลัยขึ้นอยู่กับการสอนที่ดี รวมถึงต้องมีนวัตกรรมที่ดีด้วย

ด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง กล่าวว่า อว. ได้มอบหมาย ภารกิจตามนโยบายสาคัญของ อว. ในยุทธศาสตร์ Quick Wins เรื่อง “เปลี่ยนเกษียณ เป็นพลัง” ให้ วช. ดำเนินการสร้างกลไกการเตรียม ความพร้อมในการเข้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศไทย ซึ่ง วช. ได้กำหนดให้มีแผนงาน “เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง” เพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ผ่านการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม และกิจกรรม ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย โดยให้ความสำคัญกับฐานความรู้เดิมและองค์ความรู้ ที่มีอยู่ของสถาบันการศึกษา ที่พร้อมนำไปต่อยอดและขยายผล ร่วมกับหน่วยงานและ มหาวิทยาลัยภายใต้ กระทรวง อว. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยโครงการ “เกษียณมีดี” เป็นหนึ่งในโครงการภายใต้แผนงาน “เปลี่ยน เกษียณเป็นพลัง” ระยะที่ 1 ซึ่งประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นรูปธรรม

ส่วน ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า โครงการ “เกษียณมีดี” ได้รับสนับสนุนทุนจาก วช. ให้ดำเนินการจัดทำบทเรียนดิจิทัล “เกษียณมีดี” สำหรับผู้สูงวัย และพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างคนต่างวัย “ชุมชนคนมีดี” รวมทั้งพื้นที่ปฏิบัติการฝึกเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ “ตลาดคนมีดี” เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะงานในยุคดิจิทัลสำหรับผู้สูงวัย พร้อมระบบสนับสนุนเชิงเทคนิคของคนรุ่นใหม่สู่การนำไปใช้ที่ยั่งยืน ระบบสนับสนุนและพื้นที่ค้าขายสินค้าผลิตภัณฑ์และบริการใน ออนไลน์ มาร์เก็ตเพลส ระยะเวลาการงาน 10 เดือนที่ผ่านมาโครงการเกษียณมีดี มีความก้าวหน้าและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีผู้สูงวัยอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป เข้าร่วมในระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัล“มีดี” กว่า 9,160 คนจากทั่วประเทศ พร้อมทั้งมีผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นประชาชนคนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย รวมกว่า 14,600 คน ในปี 2565 นี้ โครงการเกษียณมีดีจะได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการสนับสนุนผู้สูงวัย 77 จังหวัดทั่วประเทศ ให้สามารถเข้าถึงการส่งเสริมของโครงการฯ

ภายในงานยังได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มช., วช., กรมกิจการผู้สูงอายุ, กศน., เทศบาลเชียงใหม่, เครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุ 17 จังหวัดภาคเหนือ และกลุ่มงาน SCB Academy
เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาทักษะงานในยุคดิจิทัล โดยให้เกิดการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศไทย

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มอบรางวัลแก่ผู้สูงวัยที่สร้างแรงบันดาลใจในโครงการเกษียณมีดีในรางวัล “คนไทยมีดี of The Year 2021 ทั้งหมด 3 ท่าน ได้แก่ นายอาคม วชิรโรจน์ประภาพ นายเบญจพล วชิรโรจน์ประภาพ ดนตรีของปู่หลาน, นางอิ่นแก้ว ชัยศรี ร้านนวดแผนไทยชมรมผู้สูงอายุตำบลดอยสะเก็ด และอีกหนึ่งรางวัลพิเศษ “บุคคลต้นแบบสร้างสรรค์สังคม” ได้แก่ ดร.พระครูปิยวรรณพิพัฒน์ ซึ่งเป็นประธานเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุ 17 จังหวัด และยังได้มอบรางวัลแก่คนไทยมีดีใน 3 สาขา ได้แก่สาขามีดีที่ต่างวัย, สาขาคนมีดี, และสาขาร้านนี้มีดี แก่ผู้สูงวัย 8 ท่าน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *