วช. ช่วยเกษตรกรผลักดัน แนวทางการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรด้วยเทคนิคการสำรวจแหล่งน้ำใต้ดินประสิทธิภาพสูง “สู้วิกฤตภัยแล้ง”
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การจัดการน้ำด้านการเกษตรจากแหล่งน้ำใต้ดินด้วยเทคนิคการสำรวจประสิทธิภาพสูงเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตมะม่วงทับทิมทอง บริเวณศูนย์วิจัยชุมชนตำบลวังใหม่ จังหวัดสระแก้ว” ให้แก่ นายพงศกร จิวาภรณ์คุปต์ ผศ. ดีเซลล์ สวนบุรี และคณะ เพื่อช่วยเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงทับทิมทอง ณ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
วันนี้ (วันที่ 21 เมษายน 2565) ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ส่งเสริมและสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการแก้ไขเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรในการเพาะปลูกพืช ให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยเรื่องการให้น้ำในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตหรือพืชผลการเกษตรผลิดอกออกผล เกษตรกรยังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ และนับเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ ดังนั้น วช. จึงได้เล็งเห็นถึงปัญหาพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานให้กับทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงทับทิมทอง ซึ่งจะเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคต ณ ศูนย์วิจัยชุมชนตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกร และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมในการใช้และดูแลรักษาทรัพยากรท้องถิ่นอย่างยั่งยืนด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม
รองศาสตราจารย์ ดร.คณพล จุฑามณี ประธานเครือข่ายวิจัยภูมิภาค:ภาคกลาง กล่าวว่า ศูนย์วิจัยตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว เป็นศูนย์วิจัยลำดับที่ 2 ของเครือข่ายภูมิภาค: ภาคกลาง การนำเทคโนโลยีและการนำองค์ความรู้จากการวิจัยดังกล่าวจะมีส่วนช่วยในการบริหารการจัดการพื้นที่ทางการเกษตร แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำส่งเสริมการเป็นเกษตรยุคใหม่สมาร์ทฟาร์มมิ่ง
ผศ. ดีเซลล์ สวนบุรี ผู้ร่วมวิจัย กล่าวว่า ศูนย์วิจัยชุมชนตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว เป็นพื้นที่สาธิตการปลูก “มะม่วงทับทิมทอง” ปัญหาที่เกิดขึ้นพบว่าบริเวณพื้นที่ศูนย์วิจัยเป็นพื้นที่แล้งซ้ำซากการขาดแคลนน้ำด้านเกษตรทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน สภาพการใช้น้ำปัจจุบัน ใช้น้ำฝนตามฤดูกาล และกักเก็บในสระน้ำไว้บางส่วนซึ่งไม่เพียงพอที่จะใช้ปลูกมะม่วงซึ่งคาดว่าจะเป็นผลไม้เศรษฐกิจใหม่ สำหรับเป็นผลไม้ส่งออก เกรดพรีเมียมหากได้รับการสนับสนุนทางวิชาการด้านการปลูก ทีมนักวิจัยใช้การประยุกต์การสำรวจแหล่งน้ำใต้ดินประสิทธิภาพสูง ในพื้นที่ศูนย์ฯ จะนำไปสู่การพัฒนาแหล่งน้ำใต้ดิน รวมทั้งระบบการจัดการน้ำที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตจากการปลูกมะม่วงทับทิมทองทั้งคุณภาพและปริมาณที่สูงขึ้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับกลุ่มเกษตรกรต่อสู้กับวิกฤตภัยแล้ง ด้วยเทคนิคการสำรวจแหล่งน้ำใต้ดินประสิทธิภาพสูง และเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้วยการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์สแกนหาแหล่งน้ำใต้ดินบนพื้นที่อำเภอวังสมบูรณ์
ทีมวิจัย ได้ศึกษาทำการสำรวจศักยภาพของแหล่งน้ำใต้ดินด้วยการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์โดยเทคนิควิธีการสำรวจแหล่งน้ำใต้ดินประสิทธิภาพสูง ประกอบด้วย การใช้เครื่องมืออ่านค่าอัตโนมัติแบบหลายขั้ว (Multi-electrode) เป็นการวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าเชิง 2 มิติ (2D resistivity imaging) ทำให้ได้ข้อมูลคลุมพื้นที่เป้าหมายอย่างละเอียด และทำการประมวลผลข้อมูลทั้งแบบเชิง 2 มิติ ได้เป็นภาพแบบภาคตัดขวาง แสดงผลโดยรวมของพื้นที่และแบบเชิง 1 มิติ (สำคัญ) เสมือนการสำรวจ แบบ VES ทุกระยะห่าง 10 เมตร การวิเคราะห์ผลจึงมีความต่อเนื่อง ทำให้ประสิทธิภาพของการแปลความหมายข้อมูลสูง ทำให้ทราบถึงข้อมูลของระบบของชั้นน้ำใต้ดินความลึก ความหนาของชั้นน้ำในรอยแตกของหินแข็งและชั้นน้ำหน้าหิน หรือชั้นน้ำในหินร่วน ได้อย่างถูกต้องจากนั้นได้ทำการประมวลผลและสร้างแบบจำลองทางธรณีไฟฟ้า วิเคราะห์ลักษณะอุทกวิทยาน้ำใต้ดินบริเวณพื้นที่ศูนย์วิจัยชุมชนตำบลวังใหม่ จากผลการวิเคราะห์และสำรวจทำให้ค้นพบแหล่งน้ำใต้ดินมีหลายตำแหน่งที่ดำเนินการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลได้ และทำการสร้างแท้งกักเก็บน้ำใกล้ตำแหน่งเจาะน้ำบาดาลจากการทดสอบเบื้องต้นได้กักเก็บน้ำได้ประมาณ 4 ลูกบาศก์เซนติเมตร/ต่อชั่วโมง และการติดตั้ง “ระบบโซลาร์เซลล์ระบบให้น้ำมะม่วงแบบอัจฉริยะ” นับเป็นแนวทางการจัดการน้ำช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรช่วงวิกฤตภัยแล้งที่เหมาะสมอย่างหนึ่งด้วยเทคนิคการสำรวจแหล่งน้ำใต้ดินประสิทธิภาพสูงเทคโนโลยีการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์สมัยใหม่ช่วยในการสแกนใต้ผิวดินวิเคราะห์บริเวณที่เป็นแหล่งน้ำใต้ดินเมื่อเข้าใจธรรมชาติของชั้นน้ำใต้ดินการบริหารจัดการน้ำ
เพื่อการเกษตรสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพตอบโจทย์การแก้ปัญหาในพื้นบริเวณศูนย์วิจัยชุมชนวังใหม่ช่วยเหลือกลุ่มเกษตรไทยส่งเสริมการสร้างรายได้ในชุมชนเพิ่มผลผลิตรายได้จาการปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ “มะม่วงทับทิมทอง” ได้อย่างเข้มแข็ง
สำหรับ โครงการ “การจัดการน้ำด้านการเกษตรจากแหล่งน้ำใต้ดินด้วยเทคนิคการสำรวจประสิทธิภาพสูงเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตมะม่วงทับทิมทอง บริเวณศูนย์วิจัยชุมชนตำบลวังใหม่ จังหวัดสระแก้ว” เพื่อการพัฒนาเทคนิค และเครื่องมือวิจัยที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการสำรวจศึกษาธรรมชาติของแหล่งน้ำใต้ดิน การขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เพื่อใช้ในการให้น้ำมะม่วงแบบอัจฉริยะ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ ที่ทีมนักวิจัยร่วมกันศึกษาวิจัยและต่อยอดองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่อสู้กับวิกฤตภัยแล้ง ส่งเสริมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่สร้างความสุขได้อย่างยั่งยืน “ชุมชนเข้มแข็งด้วยเศรษฐกิจฐานราก”
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การจัดการน้ำด้านการเกษตรจากแหล่งน้ำใต้ดินด้วยเทคนิคการสำรวจประสิทธิภาพสูงเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตมะม่วงทับทิมทอง บริเวณศูนย์วิจัยชุมชนตำบลวังใหม่ จังหวัดสระแก้ว” ให้แก่ นายพงศกร จิวาภรณ์คุปต์ ผศ. ดีเซลล์ สวนบุรี และคณะ เพื่อช่วยเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงทับทิมทอง ณ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
วันนี้ (วันที่ 21 เมษายน 2565) ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ส่งเสริมและสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการแก้ไขเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรในการเพาะปลูกพืช ให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยเรื่องการให้น้ำในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตหรือพืชผลการเกษตรผลิดอกออกผล เกษตรกรยังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ และนับเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ ดังนั้น วช. จึงได้เล็งเห็นถึงปัญหาพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานให้กับทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงทับทิมทอง ซึ่งจะเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคต ณ ศูนย์วิจัยชุมชนตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกร และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมในการใช้และดูแลรักษาทรัพยากรท้องถิ่นอย่างยั่งยืนด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม
รองศาสตราจารย์ ดร.คณพล จุฑามณี ประธานเครือข่ายวิจัยภูมิภาค:ภาคกลาง กล่าวว่า ศูนย์วิจัยตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว เป็นศูนย์วิจัยลำดับที่ 2 ของเครือข่ายภูมิภาค: ภาคกลาง การนำเทคโนโลยีและการนำองค์ความรู้จากการวิจัยดังกล่าวจะมีส่วนช่วยในการบริหารการจัดการพื้นที่ทางการเกษตร แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำส่งเสริมการเป็นเกษตรยุคใหม่สมาร์ทฟาร์มมิ่ง
ผศ. ดีเซลล์ สวนบุรี ผู้ร่วมวิจัย กล่าวว่า ศูนย์วิจัยชุมชนตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว เป็นพื้นที่สาธิตการปลูก “มะม่วงทับทิมทอง” ปัญหาที่เกิดขึ้นพบว่าบริเวณพื้นที่ศูนย์วิจัยเป็นพื้นที่แล้งซ้ำซากการขาดแคลนน้ำด้านเกษตรทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน สภาพการใช้น้ำปัจจุบัน ใช้น้ำฝนตามฤดูกาล และกักเก็บในสระน้ำไว้บางส่วนซึ่งไม่เพียงพอที่จะใช้ปลูกมะม่วงซึ่งคาดว่าจะเป็นผลไม้เศรษฐกิจใหม่ สำหรับเป็นผลไม้ส่งออก เกรดพรีเมียมหากได้รับการสนับสนุนทางวิชาการด้านการปลูก ทีมนักวิจัยใช้การประยุกต์การสำรวจแหล่งน้ำใต้ดินประสิทธิภาพสูง ในพื้นที่ศูนย์ฯ จะนำไปสู่การพัฒนาแหล่งน้ำใต้ดิน รวมทั้งระบบการจัดการน้ำที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตจากการปลูกมะม่วงทับทิมทองทั้งคุณภาพและปริมาณที่สูงขึ้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับกลุ่มเกษตรกรต่อสู้กับวิกฤตภัยแล้ง ด้วยเทคนิคการสำรวจแหล่งน้ำใต้ดินประสิทธิภาพสูง และเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้วยการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์สแกนหาแหล่งน้ำใต้ดินบนพื้นที่อำเภอวังสมบูรณ์
ทีมวิจัย ได้ศึกษาทำการสำรวจศักยภาพของแหล่งน้ำใต้ดินด้วยการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์โดยเทคนิควิธีการสำรวจแหล่งน้ำใต้ดินประสิทธิภาพสูง ประกอบด้วย การใช้เครื่องมืออ่านค่าอัตโนมัติแบบหลายขั้ว (Multi-electrode) เป็นการวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าเชิง 2 มิติ (2D resistivity imaging) ทำให้ได้ข้อมูลคลุมพื้นที่เป้าหมายอย่างละเอียด และทำการประมวลผลข้อมูลทั้งแบบเชิง 2 มิติ ได้เป็นภาพแบบภาคตัดขวาง แสดงผลโดยรวมของพื้นที่และแบบเชิง 1 มิติ (สำคัญ) เสมือนการสำรวจ แบบ VES ทุกระยะห่าง 10 เมตร การวิเคราะห์ผลจึงมีความต่อเนื่อง ทำให้ประสิทธิภาพของการแปลความหมายข้อมูลสูง ทำให้ทราบถึงข้อมูลของระบบของชั้นน้ำใต้ดินความลึก ความหนาของชั้นน้ำในรอยแตกของหินแข็งและชั้นน้ำหน้าหิน หรือชั้นน้ำในหินร่วน ได้อย่างถูกต้องจากนั้นได้ทำการประมวลผลและสร้างแบบจำลองทางธรณีไฟฟ้า วิเคราะห์ลักษณะอุทกวิทยาน้ำใต้ดินบริเวณพื้นที่ศูนย์วิจัยชุมชนตำบลวังใหม่ จากผลการวิเคราะห์และสำรวจทำให้ค้นพบแหล่งน้ำใต้ดินมีหลายตำแหน่งที่ดำเนินการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลได้ และทำการสร้างแท้งกักเก็บน้ำใกล้ตำแหน่งเจาะน้ำบาดาลจากการทดสอบเบื้องต้นได้กักเก็บน้ำได้ประมาณ 4 ลูกบาศก์เซนติเมตร/ต่อชั่วโมง และการติดตั้ง “ระบบโซลาร์เซลล์ระบบให้น้ำมะม่วงแบบอัจฉริยะ” นับเป็นแนวทางการจัดการน้ำช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรช่วงวิกฤตภัยแล้งที่เหมาะสมอย่างหนึ่งด้วยเทคนิคการสำรวจแหล่งน้ำใต้ดินประสิทธิภาพสูงเทคโนโลยีการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์สมัยใหม่ช่วยในการสแกนใต้ผิวดินวิเคราะห์บริเวณที่เป็นแหล่งน้ำใต้ดินเมื่อเข้าใจธรรมชาติของชั้นน้ำใต้ดินการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพตอบโจทย์การแก้ปัญหาในพื้นบริเวณศูนย์วิจัยชุมชนวังใหม่ช่วยเหลือกลุ่มเกษตรไทยส่งเสริมการสร้างรายได้ในชุมชนเพิ่มผลผลิตรายได้จาการปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ “มะม่วงทับทิมทอง” ได้อย่างเข้มแข็ง
สำหรับ โครงการ “การจัดการน้ำด้านการเกษตรจากแหล่งน้ำใต้ดินด้วยเทคนิคการสำรวจประสิทธิภาพสูงเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตมะม่วงทับทิมทอง บริเวณศูนย์วิจัยชุมชนตำบลวังใหม่ จังหวัดสระแก้ว” เพื่อการพัฒนาเทคนิค และเครื่องมือวิจัยที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการสำรวจศึกษาธรรมชาติของแหล่งน้ำใต้ดิน การขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เพื่อใช้ในการให้น้ำมะม่วงแบบอัจฉริยะ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ ที่ทีมนักวิจัยร่วมกันศึกษาวิจัยและต่อยอดองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่อสู้กับวิกฤตภัยแล้ง ส่งเสริมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่สร้างความสุขได้อย่างยั่งยืน “ชุมชนเข้มแข็งด้วยเศรษฐกิจฐานราก”