วันนี้ (วันที่ 27 เมษายน 2565) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดเวทีบรรเลงเพลงพื้นบ้าน ฟื้นเมืองเชียงแสนด้วยเสียงเพลง ผลผลิตจากโครงการวิจัยพื้นที่ทางวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์จินตนาการใหม่โดยอาศัยร่องรอยวิถีชีวิตของชุมชนผ่านศิลปินในท้องถิ่นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดนตรีของชุมชน และโครงการขยายผลต่อยอดนวัตกรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกชาติ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข หัวหน้าโครงการวิจัย มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข ควบคุมการจัดแสดง “ฟื้นเมืองเชียงแสนด้วยเสียงเพลง” การบรรเลงดนตรีโดย วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Thai Symphony Orchestra) ควบคุมวง โดย พันเอก ดร.ประทีป สุพรรณโรจน์ และสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมประกอบบทเพลง โดย ดร.สุชาติ วงษ์ทอง ณ ลานหน้าวัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน และ นายวราดิศร อ่อนนุช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวตอนรับ และนายปกรณ์ สุริวรรณ นายอำเภอเชียงแสน กล่าวรายงาน พร้อมกันนี้ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว.
ผู้บริหารกระทรวง อว. ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ
ภาคเอกชน จังหวัดเชียงราย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ วช. สื่อมวลชน และประชาชนในพื้นที่ให้เกียรติเข้าร่วมงาน
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า เมืองเชียงแสน เมืองเก่าแก่มีการแสดงศิลปะดนตรีพื้นบ้านเป็นมรดก การแสดงดนตรี
วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า
เป็นการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก วช. โดย “มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข” ดำเนินการโดยรองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข ในการวิจัยเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม โดยการค้นหาเพลงเก่าของชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาเรียบเรียงใหม่ พร้อมเล่นผ่านวงดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตร้า เพื่อรักษาเพลงเก่า นำมาเสนอในรูปแบบใหม่ เป็นการรังสรรค์ท่วงทำนองคีตศิลป์กระตุ้นให้เกิดสิ่งใหม่บนรากฐานสิ่งเก่า กิจกรรมบรรเลงเพลงพื้นบ้านที่จังหวัดเชียงรายโดยวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้าเป็นผลงานการวิจัยในโครงการวิจัยพื้นที่ ทางวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์จินตนาการใหม่โดยอาศัยร่องรอยวิถีชีวิตของชุมชนผ่านศิลปินในท้องถิ่นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดนตรีของชุมชน และโครงการขยายผลต่อยอดนวัตกรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกชาติ การบรรเลงดนตรีโดยวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Thai Symphony Orchestra) นำไปสู่การส่งเสริมการรังสรรค์คีตศิลป์ผ่านบทเพลงและท่วงทำนองอันเป็นเอกลักษณ์เป็นการสร้างผลงานศิลปะทางวัฒนธรรมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมการอนุรักษ์และต่อยอด หวังเป็นอย่างยิ่งว่า อาจารย์สุกรี เจริญสุข และคณะ จะเป็นตัวอย่างในการสร้างสรรค์ท่วงทำนองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติเกิดการสานต่อสิ่งที่บรรพบุรุษของเราหลงเหลือไว้ สนับสนุนความสามารถของเด็กไทยผลักดันสาขาสุนทรียศาสตร์ทางด้านดนตรีของประเทศ โดยการ พัฒนาดนตรีพื้นบ้านอันเป็นสมบัติที่ล้ำค่าของคนไทยสู่ระดับสากล
ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข เปิดเผยว่า ปัจจัยการนำเพลงท้องถิ่นเพลงพื้นบ้านเพลงไทยที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาเรียบเรียงใหม่ โดยการสนับทุนการวิจัยจาก วช. ในปีงบประมาณ 2565 ได้ต่อยอดโครงการไปแสดงดนตรีตามหัวเมืองใหญ่ 5 เมืองคือ สุโขทัย เชียงแสน สกลนคร เพชรบุรี และนครศรีธรรมราช โดยยังคงรักษารูปแบบเดิม แต่ละเมืองก็จะมีบทเพลงท้องถิ่นงานวิจัยชิ้นนี้นำวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า พร้อมนักดนตรีที่มีฝีมือทุกคนไปแสดงในพื้นที่ ในท้องถิ่นที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรม โดยนำบทเพลงของชุมชนและท้องถิ่นที่ผู้คนรู้จักไปแสดงแทนบทเพลงคลาสสิกของฝรั่ง นอกจากนี้ยังได้จัดแสดงในพื้นที่โบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ สถานที่ควรเคารพเพื่อใช้ดนตรีหล่อหลอมและกล่อมเกลาความรู้สึกใหม่ของสังคม เสียงดนตรี ที่สะอาดออกมาจากจิตใจที่สะอาด อาทิ วัดพระราม พื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ปราสาทหินอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ที่วัดเจดีย์หลวง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ดังนั้นอุทยานประวัติศาสตร์เชียงแสน จึงเป็นเป้าหมายของการแสดงโดยอธิบายเรื่องราวของเพลงให้ผู้ฟังก่อนเข้าสู่บทเพลงพร้อมทั้งประกอบด้วยการสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมประกอบบทเพลง การวิจัยดนตรีครั้งนี้เป็นการทดลองที่จะนำเสนอโดยเอาอดีตมารับใช้ปัจจุบันเพื่อจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เป็นทางเลือกให้กับวิถีชีวิต ชุมชน และท้องถิ่นเป็นรูปแบบวัฒนธรรมใหม่สู่การขยายทางวัฒนธรรมทางด้านดนตรีต่อไป
โดยการแสดงดังกล่าวได้จุด “ประกาย” แสงสว่างไสวทำให้คนในพื้นที่ได้มองเห็น และตระหนักถึงการรักษาบทเพลงพื้นบ้านให้คงอยู่ เป็นประกายที่สำคัญ ในโอกาสนี้ได้จัดการแสดงบรรเลงบทเพลง เพลงวงคนเวียงเก่า วงสะล้อซอซึงชาวบ้านเชียงแสน เพลงระบำเชียงแสน จากวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ เพลงฤๅษีหลงถ้ำ เป่าปี่จุมโดย อาจารย์ภานุทัต อภิชนาธง เพลงพิลาสเชียงแสน เพลงสะล้อซอซึง บรรเลงบทเพลงจากซอพม่า เพลงดอกไม้เมือง เพลงหนุ่มพญาซึง เพลงพญาไพร เป็นต้น และ รมว.อว.ได้มอบภาพจิตรกรรมประกอบบทเพลงให้กับนายอำเภอเชียงแสนเพื่อจัดเก็บในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสนต่อไป เพลงพื้นบ้านจะคงอยู่ต่อไปหากลูกหลานไทยช่วยกันอนุรักษ์และสืบสานเพลงพื้นบ้านให้คงอยู่มนต์เสน่ห์แห่งคีตศิลป์สะท้อนวิถีชีวิตของชุมชนด้วย “วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า”