วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดพิธีปิดงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566” และพิธีมอบรางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน ในการประกวดเวที Thailand New Gen Inventors Award : I-New Gen Award 2023 โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะผู้บริหาร วช. เข้าร่วมพิธีฯ ณ เวทีกลาง Event Hall 101 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร โดยในพิธีดังกล่าว คุณวิทยา พานิชตระกูลประธานกรรมการบริหาร บริษัท ฮาตาริอิเลคทริค จำกัด และคุณพงษ์ชัย อมตานนท์ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมมอบเงินสนับสนับสนุนสร้างโอกาสและกล่าวถึงการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในการสร้างสรรค์ผลงานประดิษฐกรรม
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. จัดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม” เพื่อนำเสนอสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพร้อมใช้และความก้าวหน้าด้านการประดิษฐ์คิดค้นของประเทศ และผลักดันให้ให้เกิดการขยายผลสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ วช. ได้รับการตอบรับการเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการกว่า 1,000 ผลงาน ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตรของ วช. ทั้งสถาบันการศึกษาต่าง ๆ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยงานวันนักประดิษฐ์ปีนี้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ได้รับความสนใจจากนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมชมงานจำนวนมาก และในวันนี้ วช. ยังจัดให้มีการมอบรางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชนที่ร่วมประกวดในเวที Thailand New Gen Inventors Award : I-New Gen Award 2023 เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่เกิดแรงบันดาลใจและมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นนักวิจัยและนวัตกรในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่ช่องทางในการขยายฐานบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงประเทศในอนาคต ซึ่งปีนี้มีผลงานของเยาวชนในระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา จำนวน 446 ผลงาน ได้แก่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาจำนวน 245 ผลงาน ระดับอาชีวศึกษา 103 ผลงาน และ ระดับอุดมศึกษา จำนวน 98 ผลงาน ที่ส่งเข้าประกวดสิ่งประดิษฐ์ในครั้งนี้ด้วย
สำหรับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน ในการประกวดเวที Thailand New Gen Inventors Award : I-New Gen Award 2023 แบ่งออกเป็น 3 ระดับการประกวด ได้แก่ระดับมัธยมศึกษา (มัธยมต้นและมัธยมปลาย) ระดับอาชีวศึกษา (ปวช. และ ปวส.) และระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรีและปริญญาโท) ใน 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ กลุ่มที่ 1 การเกษตรกลุ่มที่ 2 อาหาร กลุ่มที่ 3 สุขภาพและการแพทย์ กลุ่มที่ 4 พลังงาน เคมี และวัสดุชีวภาพและกลุ่มที่ 5 การท่องเที่ยว รวมจำนวน 41 รางวัลที่ผ่านการคัดเลือก ดังนี้
รางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน ในการประกวดเวที Thailand New Gen Inventors Award : I-New Gen Award 2023 ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 1 การเกษตร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานเครื่องระบุระดับความสุกของมะม่วงน้ำดอกไม้ จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ผลงานการพัฒนาฟาร์มวัวอัจฉริยะ โดยการนำ Image processing ควบคุมการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการจัดการฟาร์ม จากโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ผลงานเครื่องปอกกระเทียมพร้อมสับพลังงานลมเพื่อส่งเสริมกลุ่มแปรรูปพริกหมู่บ้านหนองบง อำเภอคงจังหวัดนครราชสีมา เวอร์ชั่น 4 จากโรงเรียนเมืองคง จังหวัดนครราชสีมา
ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 2 อาหาร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผงกำจัดพยาธิใบไม้ตับในเนื้อปลาด้วยใบข่าอ่อนจากธรรมชาติ จากโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ฉลากอัจฉริยะเพื่อบอกความสดของอาหารทะเลจากมังคุด กระเจี๊ยบ อัญชัน ข้าวเหนียวดำ แก้วมังกร จากโรงเรียนศรียาภัยจังหวัดชุมพร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ แกงไข่มดแดงเห็ดขอนขาวถ้วยร้อนสำเร็จรูป จากโรงเรียนบ้านปราสาท จังหวัดศรีสะเกษ
ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สุขภาพและการแพทย์ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานนาโนพลาสเตอร์พลัสโพรโพลิส จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ผลของปากกาแต้มฟันจากสารสกัดจากชาเขียวที่ป้องกันฟันผุ จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นวัตกรรมแผ่นแปะแผลประสิทธิภาพสูงจากสารสกัดใบชาเขียวห่อหุ้มด้วยอนุภาคพอลิเมอร์ลิกนาโนไมเซลล์เบลนด์นาโนคริสตัลเซลลูโลสจากกากใบชาเขียว โรงเรียนแสงทองวิทยา จังหวัดสงขลา
ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 4 พลังงาน เคมี และวัสดุชีวภาพ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานเซนเซอร์ตรวจจับไฟป่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ จากโรงเรียนกำเนิดวิทย์ จังหวัดระยองรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ผลงานวัสดุจีโอพอลิเมอร์เถ้าถ่านหินซ่อมแซมตัวเองได้ จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ผลงานกำแพงเขื่อนตลิ่งป้องกันน้ำแบบพ็อปอัปอัตโนมัติV2 จากโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม
ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 5 การท่องเที่ยว รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานออกแบบลายผ้า“คงคนคร” ด้วยโปรแกรม Gometer’s Sketchpad (GSP) ส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จากโรงเรียนเมืองคง จังหวัดนครราชสีมา รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ผลงานการประยุกต์ใช้โปรแกรม GSP เพื่อสร้างพิกัดจุดเชิงเส้น สำหรับการมัดย้อมลายผ้าโบราณบนเสื่อกก จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดสกลนคร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ชุดผลิตภัณฑ์ผงย้อมโกงกาง จากโรงเรียนกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน ในการประกวดเวที Thailand New Gen Inventors Award : I-New Gen Award 2023 ระดับอาชีวศึกษา กลุ่มที่ 1 การเกษตร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เครื่องผสมเกสรดาวเรือง จากวิทยาลัยเทคนิคลำปาง จังหวัดลำปาง รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ เครื่องผลิตยาหม่องสมุนไพรไทย จากวิทยาลัยเทคนิคลำพูน จังหวัดลำพูน รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ผลงาน DWM เครื่องฟอกย้อมและล้างเส้นด้ายระดับชุมชน จากวิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
ระดับอาชีวศึกษา กลุ่มที่ 2 อาหาร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เครื่องอบกระเทียมดำประหยัดพลังงานเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน จากวิทยาลัยเทคนิคลำปาง จังหวัดลำปาง รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ เตาอบโอ่งและรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นวัตกรรมชุดทำขนม Street food 3 types เพิ่มรายได้แก้ปัญหาความยากจน จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ระดับอาชีวศึกษา กลุ่มที่ 3 สุขภาพและการแพทย์ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานหุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินสำหรับพื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต จากวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทราจังหวัดฉะเชิงเทรา รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ผลงาน HKA เครื่องบริหารสะโพกข้อเข่า และข้อเท้าแบบ CPM ระบบกึ่งอัตโนมัติ จากวิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญจังหวัดอำนาจเจริญ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ผลงานถังขยะติดเชื้อแบบอัตโนมัติ จากวิทยาลัยการอาชีพบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ระดับอาชีวศึกษา กลุ่มที่ 4 พลังงาน เคมี และวัสดุชีวภาพ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานมิเตอร์ ไอโอที จากวิทยาลัยเทคนิคสระบุรี จังหวัดสระบุรี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ รถฉีดพ่นสารเหลวควบคุมระยะไกลด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จากวิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ เครื่องล้างเพื่อฟื้นฟูแบตเตอรี่แบบเปียกกึ่งอัตโนมัติ จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ระดับอาชีวศึกษา กลุ่มที่ 5 การท่องเที่ยว รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ชุดเครื่องประดับถมนคราร่วมสมัย จากกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง จังหวัดนครปฐม รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ เครื่องสร้างลวดลายบนแผ่นไม้ด้วยไฟฟ้า จากวิทยาลัยการอาชีพป่าซาง จังหวัดลำพูน รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ผลงานผ้าคาดตกแต่งจากลูกปัดโนรา จากวิทยาลัยเทคนิคตรัง จังหวัดตรัง
รางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน ในการประกวดเวที Thailand New Gen Inventors Award : I-New Gen Award 2023 ระดับอุดมศึกษา กลุ่มที่ 1 การเกษตร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ชุดตรวจสอบการติดพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็กชนิด Centrocestus formosanus ในปลาเศรษฐกิจ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ เครื่องวัดเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งอัจฉริยะ พร้อมแอปพลิเคชันเพื่อคำนวณรายได้และระบบจัดเก็บข้อมูลบน i-Cloud แสดงผลผ่านสมาร์ทโฟนสำหรับธุรกิจน้ำยาง จากมหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ผลงาน EVERFRESH ผลไม้ยืดอายุด้วยโมเลกุลธรรมชาติ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีกรุงเทพมหานคร
ระดับอุดมศึกษา กลุ่มที่ 2 อาหาร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ โอ่งคั่วเมล็ดกาแฟแบบโรตารี่ระบบอัตโนมัติ จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ผลงานไข่ต้มจากพืชไร้สารก่อภูมิแพ้ สะดวกเก็บสะดวกกิน จากมหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี สำหรับรางวัลชนะเลิศในกลุ่มอาหาร ไม่มีผู้ผ่านการคัดเลือก
ระดับอุดมศึกษา กลุ่มที่ 3 สุขภาพและการแพทย์ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ อุปกรณ์ถ่างขยายผนังหัวใจห้องบนจากโลหะผสมจำรูปสำหรับรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพมหานคร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ผิวหนังเทียมที่ทําจากเจลาตินเมทาคริโลอิลและเซลล์ต้นกําเนิดผสมโกรทแฟคเตอร์ด้วยเทคนิคการพิมพ์ชีวภาพสามมิติสําหรับการรักษาแผล จากมหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ชุดตรวจออกซิไดซ์ไลโพโปรตีน ชนิดความหนาแน่นสูง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
ระดับอุดมศึกษา กลุ่มที่ 4 พลังงาน เคมี และวัสดุชีวภาพ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนควบคุมผ่านระบบ IOT ร่วมกับพลังงานทดแทน จากวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับรางวัลชนะเลิศและรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ในกลุ่มพลังงาน เคมี และวัสดุชีวภาพ ไม่มีผู้ผ่านการคัดเลือก
และระดับอุดมศึกษา กลุ่มที่ 5 การท่องเที่ยว รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน “โคม คราฟต์” นวัตกรรมต้นแบบจากกิจกรรมศิลปะพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีถัดไปจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่เครื่องประดับที่ออกแบบจากหมากรุกไทยด้วยทฤษฎี Deconstruction จากวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒกรุงเทพมหานคร สำหรับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ในกลุ่มการท่องเที่ยว ไม่มีผู้ผ่านการคัดเลือก
โดยผู้ได้รับรางวัลจากการประกวดเวที Thailand New Gen Inventor Awards : I-New Gen Award 2023 จะได้รับถ้วยรางวัลพร้อมเกียรติบัตรและเงินรางวัล เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่มีความสนใจที่จะพัฒนาเป็นนักวิจัยและสร้างนวัตกรรมในอนาคต ได้แสดงความสามารถพิเศษด้านการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งจะนำไปสู่ช่องทางในการขยายฐานบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงประเทศในอนาคต
“วันนักประดิษฐ์” จึงถือเป็นเวทีสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้านการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้นของคนไทย ซึ่งมีบุคลากรในแวดวงการประดิษฐ์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติให้ความสนใจเข้าร่วมในการจัดแสดงผลงานจำนวนมาก ถือได้ว่า “วันนักประดิษฐ์” เป็นกลไกสำคัญที่กระตุ้นให้ผู้สนใจการประดิษฐ์คิดค้น เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้น และ วช. ยังคงสนับสนุนให้มีการผลักดันและขยายผลสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ของประเทศต่อไป