กทบ. ยึดแนวทาง “Future Earth” เสริมสร้างคุณภาพชีวิตสมาชิก 13 ล้านคน

นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองต่างชาติ (กทบ.) กล่าวในงาน เสวนาระดับชาติ “Future Earth Thailand 2567” ที่จัดขึ้น โดยหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ณ ห้องประชุม ดร.สมศักดิ์และคุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์กุล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ “นโยบายสำคัญในการจัดตั้ง กองทุนหมู่บ้านขึ้นมาคือ ต้องการให้สมาชิกได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่จะสนับสนุนการทำงานด้านเกษตรของตนเอง เป็นความมุ่งหวังที่จะพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และเกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวทางของสหประชาชาติ”

นอกจากนั้น ทางกองทุนหมู่บ้าน ยังมีโครงการนำร่องต่าง ๆ ที่จะช่วยทำให้สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น โครงการบำบัดน้ำให้เกิดน้ำสะอาด ของแต่ละชุมชน โครงการเกษตรอินทรีย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจ ยกระดับคนฐานรากให้มีฐานะดีขึ้น เป็นนิมิตหมายที่ดี เมื่อ Future Earth เห็นความสำคัญของกองทุนหมู่บ้าน ตั้งแต่เรื่องของ มลพิษทางด้านอากาศ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ซึ่งกระทบต่อสมาชิกของกองทุนหมู่บ้านที่มีจำนวนมากถึง 13 ล้านคน การนำเอาบทวิจัย บทวิเคราะห์ของ Future Earth ไปใช้กับกระบวนการทำงานของสมาชิก หรือในส่วนของกองทุนหมู่บ้านเอง ย่อมเกิดประโยชน์โภคผลตามมามากมายอย่างแน่นอน ซึ่งหากทุกฝ่ายร่วมมือกันขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาหลายประการร่วมกัน ก็น่าจะเกิดประโยชน์โลกโดยรวมอย่างยั่งยืน”Future Earth เป็นโครงการริเริ่มการวิจัยระดับโลกที่มุ่งพัฒนาวิทยาศาสตร์ด้านความยั่งยืน และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสู่โลกที่ยั่งยืนและเท่าเทียม เป็นเวทีความร่วมมือที่รวบรวมนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ปฏิบัติงานจากทั่วโลกเพื่อจัดการกับความท้าทายเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืนFuture Earth สนับสนุนความคิดริเริ่มในการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยและนวัตกรรมของนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมถึงการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา และการเข้าถึงทรัพยากร Future Earth ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ปฏิบัติงานจากสาขาวิชาและภูมิภาคต่างๆ สิ่งนี้ช่วยให้แน่ใจว่าการวิจัยมีความเกี่ยวข้อง เข้าถึงได้ และมีประสิทธิภาพ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *