กรมปศุสัตว์จัดแถลงข่าวงานวันอนุรักษ์และพัฒนากระบือปลักไทย ประจำปี พ.ศ. 2568 ภายใต้หลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการอนุรักษ์สายพันธุ์กระบือปลักไทย” “อนุรักษ์ สืบสาน รักษา ต่อยอด กระบือปลักไทย” วันอังคารที่ 7 มกราคม 2568 เวลา 15.00 น.
นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ แถลงข่าวการจัดงานวันอนุรักษ์และพัฒนากระบือปลักไทย ประจำปี พ.ศ. 2568 ภายใต้หลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการอนุรักษ์สายพันธุ์กระบือปลักไทย” พร้อมด้วยผู้บริหารกรมปศุสัตว์ สื่อมวลชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฯ เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการจัดงานวันอนุรักษ์และพัฒนากระบือปลักไทย ประจำปี พ.ศ. 2568 ที่กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 11 – 12 มกราคม 2568 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาโคนม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยการแถลงข่าวได้มีการจัดแสดงกระบือปลักไทย จำนวน 2 ตัว ณ ลานเอนกประสงค์หน้าเสาธง หน้าตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์ พญาไท
นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสายพันธุ์กระบือปลักไทยให้มีลักษณะดี มีคุณภาพ เพิ่มจำนวนกระบือ อันจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย โดยใช้วิถีชีวิตแบบตั้งเดิมที่นำกระบือไปใช้ประโยชน์ขขในการทำการเกษตร ต่อยอดการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการอนุรักษ์สายพันธุ์กระบือปลักไทย กรมปศุสัตว์ได้สนองพระราชดำริร่วมดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทย โดยดำเนินการบริการผสมเทียมกระบือที่มีความพร้อมโดยโดยใช้น้ำเชื้อกระบือพ่อพันธุ์ชั้นดีของกรมปศุสัตว์ และสนับสนุนพ่อพันธุ์กระบือปลักไทยในการคุมฝูงและปรับปรุงสายพันธุ์ในฝูงกระบือของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ปัจจุบันมีกระบือตั้งท้องจากการผสมเทียมและใช้พ่อพันธุ์คุมฝูง จำนวนกว่า 360 ตัว และมีลูกกระบือเกิดใหม่มากกว่า 400 ตัว
สำหรับโครงการจัดงานวันอนุรักษ์และพัฒนากระบือปลักไทย ประจำปี พ.ศ. 2568 ที่กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 11 – 12 มกราคม 2568 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาโคนม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงมีต่อพสกนิกร ชาวไทย ในด้านการพัฒนาการปศุสัตว์ เพื่อจัดประกวดแข่งขันกระบือปลักไทย ซึ่งเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ให้เกษตรกร และประชาชนผู้สนใจ ได้รู้จักการคัดเลือกกระบือปลักไทยพันธุ์ดีไว้ขยายพันธุ์ เพื่อเป็นเวทีพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการแสดงผลงานในการพัฒนาการผลิตกระบือปลักไทยตลอดห่วงโซ่การผลิตถึงการบริโภค ระหว่างหน่วยงานรัฐ องค์กรภาคเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการ และองค์กรภาคเอกชน เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ให้เกษตรและประชาชนผู้สนใจด้านการจัดการ การเลี้ยงกระบือปลักไทย การปรับปรุงพันธุ์ การป้องกันโรคระบาด การพัฒนาด้านเทคโนโลยีอาหารสัตว์ และเทคโนโลยีการผลิตกระบือปลักไทย ที่มีคุณภาพ โดยมีกิจกรรมการจัดนิทรรศการ ประกอบด้วย 3 โซน โซนที่ 1 นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ประกอบด้วยการดำเนินงานโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตร ตามพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทย ภายใต้ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน โซนที่ 2 นิทรรศการวิชาการจากหน่วยงานภายใต้กรมปศุสัตว์ จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ การขึ้นทะเบียนกระบือปลักไทย การเลี้ยงดูกระบือปลักไทย อาหารสัตว์และพืชอาหารสัตว์สำหรับกระบือ การตรวจโครโมโซมฯ ในกระบือ การตรวจเร่งเนื้อแดงจากปัสสาวะกระบือ และโรคและการป้องกันที่สำคัญในกระบือ โชนที่ 3 นิทรรศการของกลุ่มเกษตรกร/สหกรณ์ (สมาคมฯ จำนวน 5 กลุ่ม การออกร้านสาธิตและจำหน่ายสินค้าของกองผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ นิทรรศการมีชีวิต การแสดงพ่อพันธุ์กระบือปลักไทยต้นแบบ กิจกรรมวิ่งควาย กิจกรรมสู่ขวัญควาย กิจกรรมการประกวดและแข่งขันประกวดกระบือปลักไทย 16 รุ่น 1) กระบือปลักไทยดำ เพศผู้ รุ่นลูกกระบือ (Calf division) อายุ 10 – 18 เดือน 2) กระบือปลักไทยดำ เพศเมีย รุ่นลูกกระบือ (Calf division) อายุ 10 – 18 เดือน 3) กระบือปลักไทยดำ เพศผู้ รุ่นกระบือรุ่น (Intermediate division) อายุมากกว่า 18 – 24 เดือน 4) กระบือปลักไทยดำ เพศเมีย รุ่นกระบือรุ่น (Intermediate division) อายุมากกว่า 18 – 24 เดือน 5) กระบือปลักไทยดำ เพศผู้ รุ่นกระบือหนุ่มสาว (Junior division) อายุมากกว่า 24 – 36 เดือน 6) กระบือปลักไทยดำ เพศเมีย รุ่นกระบือหนุ่มสาว (Junior division) อายุมากกว่า 24 – 36 เดือน 7) กระบือปลักไทยดำ เพศผู้ รุ่นกระบือโตเต็มวัย (Senior division) อายุมากกว่า 366 – 48 เดือน 8) กระบือปลักไทยดำ เพศเมีย รุ่นกระบือโตเต็มวัย (Senior divion) อายุมากกว่า 36 – 48 เดือน 9) กระบือปลักไทยเผือก เพศผู้ รุ่นลูกกระบือ (Calf division) อายุ 10 – 18 เดือน 10) กระบือปลักไทยเผือก เพศเมีย รุ่นลูกกระบือ (Calf division) อายุ 10 – 18 เดือน 11) กระบือปลักไทยเผือก เพศผู้ รุ่นกระบือรุ่น (Intermediate division) อายุมากกว่า 18 – 24 เดือน 12) กระบือปลักไทยเผือก เพศเมีย รุ่นกระบือรุ่น (Intermediate division) อายุมากกว่า 14 – 24 เดือน 13) กระบือปลักไทยเผือก เพศผู้ รุ่นกระบือหนุ่มสาว (Junior division) อายุมากกว่า 24 – 36 เดือน 14) กระบือปลักไทยเผือก เพศเมีย รุ่นกระบือหนุ่มสาว (Junior division) อายุมากกว่า 24 – 36 เดือน 15) กระบือปลักไทยเผือก เพศผู้ รุ่นกระบือโดเต็มวัย (Senior division) อายุมากกว่า 36 – 48 เดือน 16) กระบือปลักไทยเผือก เพศเมีย รุ่นกระบือโตเต็มวัย (Senior dision) อายุมากกว่า 366 – 48 เดือน ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 3 ถ้าย 1.ถ้วยรางวัลพระราชทานชนะเลิศยอดเยี่ยม Grand Champion กระบือปลักไทยเพศผู้ 1 รางวัล 2.ถ้วยรางวัลพระราชทานชนะเลิศยอดเยี่ยม Grand Champion กระบือปลักไทยเพศเมีย 1 รางวัล 3.ถ้วยรางวัลพระราชทานกระบือปลักไทยยอดเยี่ยม ประเภทการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร 1 รางวัล โดยมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การนำกระบือเข้าประกวด มีข้อกำหนด ดังนี้ 1.ต้องมีเครื่องหมายประจำตัวสัตว์ติดอยู่ที่ตัวกระบือแบบถาวร เช่น ติดเบอร์หูพลาสติก การสักเบอร์หูหรือมีการฝังไมโครชิฟ 2.ต้องมีรูปร่างลักษณะตรงตามอัดลักษณ์ ลักษณะประจำพันธุ์ของกระบือปลักไทย ตามการขึ้นทะเบียนพันธุ์สัตว์ของกรมปศุสัตว์ “กระบือปลักไทย DLD BU 01/2023” 3.ต้องมีหนังสือรับรองผลการตรวจโครโมโซม เพื่อยืนยันการเป็นกระบือปลักไทยทีมีใครโมโซมจำนวน 48 แท่ง หรือ 24 คู่ หรือกรณียังไม่มีหนังสือรับรองผลการตรวจโครโมโซม กระบือที่ส่งเข้าประกวดต้องได้รับการเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจโครโมโซม 4.กระบือที่ส่งเข้าประกวดต้องเกิดจากพ่อ-แม่พันธุ์ กระบือปลักไทย เท่านั้น “กระบือที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ จะมีการเก็บรักษาพันธุกรรมกระบือปลักไทย (จำนวนไม่น้อยกว่า 500 โดส) น้ำเชื้อที่รีดแล้วถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของทางกรมปศุสัตว์ เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน รักษา ต่อยอด กระบือปลักไทย ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการอนรักษ์สายพันธุ์กระบือปลักไทย และนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมของกรมปศุสัตว์ต่อไป” อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุด