วช. ร่วมกับ HTAPC นำชุดความรู้ด้านผลกระทบสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 รับมือกับมลพิษทางอากาศ ด้วยวิจัยและนวัตกรรม

วันที่ 8 มกราคม 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการเสวนา “รู้ทันผลกระทบสุภาพจากฝุ่น PM2.5 ร่วมกับ ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents of Air Pollution and Climate – HTAPC) โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการเสวนาในครั้งนี้ ณ ศูนย์สารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ชั้น 1 อาคาร วช. 8 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึง วช. ในฐานะหน่วยงานบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมตามแผนงานสำคัญของประเทศ ให้ความสำคัญกับ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5” โดย วช. ส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมเชิงรุกที่ช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง (PM2.5) ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและมีความเสี่ยงสูง และร่วมกับเครือข่ายนักวิจัย สถาบันวิจัย และหน่วยงานต่าง ๆ ในการช่วยกันขับเคลื่อนผลผลิตและผลสำเร็จจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งมีการต่อยอด ขยายผลกับชุมชนและหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยที่ผ่านมา วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม เพื่อลดการปลดปล่อย PM2.5 จากแหล่งกำเนิด และจำนวนวันที่มีปริมาณ PM2.5 เกินค่ามาตรฐานลดลง จึงกำหนดกรอบวิจัยและนวัตกรรมขึ้น จนเกิดเป็นผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และนำไปสู่เป็น “ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ” หรือ HTAPC ภายใต้แผนงานการพัฒนาการเป็นศูนย์กลางกำลังคนระดับสูง (Hub of Talent) และศูนย์กลางการเรียนรู้ (Hub of Knowledge) โดยการจัดเสวนาในครั้งนี้เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบทางสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 ให้กับประชาชน เพื่อเฝ้าระวังผลกระทบที่จะเกิดขึ้นสุขภาพอีกด้วย

ภายในงานมีการเสวนาในหัวข้อ “รู้ทันผลกระทบสุขภาพจากฝุ่น PM2.5” และมีการเสวนาในหัวข้อย่อยต่าง ๆ ดังนี้ 

1. เรื่อง “สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทย” โดย ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ 

2. เรื่อง “ผลกระทบสุขภาพจากฝุ่น PM2.5” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นพ.บุญรัตน์ ทัศนีย์ไตรเทพ แห่งคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 

3. เรื่อง “ผลกระทบสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 ในกลุ่มเด็ก” โดย อาจารย์ พญ.รัชนีวรรณ สินิทธ์กุล แห่งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 

4. เรื่อง “มาตรการรับมือกับผลกระทบสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 ที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนของกระทรวงสาธารณสุข” โดย นางสาวนัยนา ใช้เทียมวงศ์ ผู้อำนวยการกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

ทั้งนี้ การเสวนาครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อการเสวนาช่วยเพิ่มความเข้าใจในผลกระทบของ PM2.5 ต่อสุขภาพ ส่งเสริมมาตรการลดผลกระทบผ่านการวิจัยและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และสร้างความพร้อมในการรับมือปัญหา PM2.5 ในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กและผู้ป่วยเรื้อรัง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *