สอวช. – วช. และ มจธ. จับมือลงนามขับเคลื่อน “การพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ” กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

วันที่ 27 กรกฎาคม 2564 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สอวช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และพัฒนากลไก ในการขับเคลื่อนระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ให้สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรม  นอกจากนี้ ยังเป็นการร่วมพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากรด้านการพัฒนานโยบายวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ในการเพิ่มขีดความสามารถและการขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ  และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ให้เกิดเครือข่าย การวิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทย ที่จะนําไปสู่การร่วมกําหนดและผลักดันนโยบายววน. ร่วมกันได้อย่าง มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล โดยมี  ดร.วิภารัตน์  ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พร้อมด้วย ดร.กิติพงค์  พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ (ระบบ ZOOM)

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึงการเชื่อมโยงบทบาทของ วช. กับนโยบายวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศในฐานะPMU ด้วยว่า การมี กระทรวง อว.เกิดขึ้นในส่วนของการรวมกลไกหลักสำคัญของประเทศ ทั้งในเรื่องของการอุดม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและต้องมีความเข้าใจอย่างมาก สำหรับทีมงานของ วช.ที่ต้องเข้าไปสัมพันธ์กับรูปแบบการทำงานที่มีความเชื่อมโยงทั้งเรื่องเชิงระบบ เชิงกลไก เชิงแผนงาน และการนำส่งผลสำเร็จผลลัพธ์ของงาน อย่างไรก็ตาม การที่จะขับเคลื่อนงานให้เดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพสิ่งหนึ่งคือการเชื่อมต่อในเชิงนโยบาย สำหรับบทบาทของ PMU ที่ วช.ให้ความสำคัญคือนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน.ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา ในส่วนของการลงนามวันนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประสิทธิภาพประสิทธิผล และตัวสมรรถนะของความเข้าใจของบุคลากร วช. ในเรื่องของการพัฒนานโยบาย ววน.มีความเข้มแข็ง สามารถเข้าไปทำความใจระบบใหม่ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้าน ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผอ.สอวช.กล่าวถึง ความสำคัญของระบบและนโยบายวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ว่า การสนับสนุนในเรื่องดังกล่าวถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด19 ที่เกิดขึ้นขณะนี้ที่มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ก็เพื่อให้ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) มีความเข้มแข็งมากขึ้น ในส่วนของการจัดการนั้นจะต้องดำเนินการในเชิงระบบให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้ง ววน.จะต้องมีมากกว่างานวิจัย และต้องไปถึงการพัฒนาที่มีฐานความรู้ทั้งจากงานวิจัยและนวัตกรรม โดยจะต้องมีการถ่ายทอดให้ความรู้ลงไปถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
    ขณะที่ รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) กล่าวถึงนวัตกรรมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมสมรรถนะของบุคลากรในการบริหารการวิจัยของประเทศด้วยว่า ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นความสำคัญอย่างมาก ในการบริหารจัดการงานวิจัยให้ตอบสนองนโยบายของประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่มีการคิดอย่างตนวางระบบที่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *