“นายชยาวุธ จันทร ประธานบอร์ด กฟน.และนายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง พร้อมคณะกรรมการ เยี่ยมชม “หม้อแปลงใต้น้ำ Low carbon” เสริมสร้างทัศนียภาพ สร้างความปลอดภัยต่อประชาชนและบริหารระบบจัดการพลังงานสิ้นเปลือง ลดมลพิษ ลดค่าไฟฟ้า/ลดคาร์บอน สร้างความมั่นคงพลังงานอย่างยั่งยืน ให้ผู้ประกอบการโรงงาน อาคาร สถานประกอบการ สอดคล้อง พันธกิจ ส่งเสริม พัฒนา สนับสนุนระบบไฟฟ้าสายใต้ดิน และการใช้พลังงานสะอาด ในการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดเชิงพาณิชย์ อย่างมั่นคง
นายชยาวุธ จันทร ประธานคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง พร้อมคณะกรรมการ เมื่อเร็วๆนี้ ได้เดินทางเยี่ยมชม โครงการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Submersible Transformer Low carbon การนำสายไฟลงดินทั้งระบบ ในพื้นที่สยามสแควร์ และชมหม้อแปลง Submersible Transformer Low carbon ไม่บังหน้าร้าน, ไม่บังร้านค้า ไม่บังหน้าบ้าน ปลอดภัยอัคคีภัย และระบบการบริหารจัดการพลังงานสิ้นเปลือง ที่มีประสิทธิภาพ มีความเสถียรการใช้พลังงานที่มั่นคง หม้อแปลงดังกล่าว ยังช่วยลดค่าไฟฟ้าลดคาร์บอน ลดเรือนกระจก ลดโลกร้อน ทั้งยังสามารถติดตั้งใต้น้ำ และเป็นการตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาลในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตามที่กำหนดเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emission ภายในปี ค.ศ. 2065
“ขอชื่นชมนวัตกรรมของคนไทย ที่มีการคิดค้น วิจัยนวัตกรรมลดพลังงาน ลดคาร์บอน ให้คนไทย นวัตกรรมชิ้นนี้ หม้อแปลง Submersible Transformer Low carbon จะเป็นการพัฒนาพลังงานอย่างมั่นคง และเป็นศูนย์กลางในการผลักดันพัฒนาการลดพลังงานการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งยังช่วยในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า สอดคล้องกับสภาพการณ์ของแต่ละพื้นที่อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน มีความเหมาะสมเชิงพาณิชย์ ที่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม และภาคพาณิชย์ต่าง ๆ ควรให้ความสำคัญ ที่จะส่งผลให้ด้านการบริโภคพลังงานมีความคุ้มค่า ลดต้นทุนการผลิต นำพาประเทศไปสู่สังคมฐานความรู้ด้านพลังงาน เพื่อเศรษฐกิจมั่นคง ยั่งยืน” นวัตกรรมหม้อแปลง Submersible Transformer Low Carbon นอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานลดค่าไฟ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว ยังช่วยให้ภูมิทัศนดูสวยงามอีกด้วย นวัตกรรมของคนไทยชิ้นนี้ ได้รับรางวัลเป็นเครื่องการันตีในคุณภาพมากมาย รางวัลของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน รางวัลกระทรวงพลังงาน Energy Award รางวัลนวัตกรรมสินค้าสนับสนุนส่งเสริมสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA, สินค้า มอก. 384 และใบประกาศเกียรติคุณ โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) TGO และรางวัล ASEAN Outstanding Engineering Achievement Project Award และ ASEAN Outstanding Engineering Contribution Award การันตี ทำคุณประโยชน์ในงานด้านวิศวกรรมในระดับประเทศ ASEAN Federation of Engineering Organization (AFEO) ที่ประเทศกัมพูชา