“AFEO” สถาบันวิศวกรอาเซียน 10 ประเทศ ทึ้ง หม้อแปลงใต้ดินไทย Low Carbon พัฒนาระบบไฟฟ้าใต้ดินอาเซียน แก้ไขปัญหาหม้อแปลงบนเสา เรื่องอัคคีภัย, อุบัติเหตุรถชนเสา, ไฟดูด ไฟช็อต สร้างมูลค่าที่ดิน ไม่บดบังหน้าบ้าน, ไม่บดบังร้านค้า ทัศนียภาพสวยงาม
พร้อมลดคาร์บอน ลดก๊าซเรือนกระจก สถาบันพร้อมนำไปพัฒนาประเทศอาเซียน ด้าน “เตชทัต” ประธานสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ยัน หม้อแปลง Low Carbon เป็นผลิตภัณฑ์ใช้ได้จริง ลดค่าไฟฟ้า/ลดคาร์บอน 5-10 % สร้างความมั่นคงด้านพลังงานที่ยั้งยืน
ดร.เตชทัต บูรณะอัศวกุล ประธานสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยเรามีงานวิจัยอยู่มากมาย แต่ไม่ได้นำมาพัฒนาตอบโจทย์สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานจริง วันนี้ได้เห็นการพัฒนาของเจริญชัยหม้อแปลงฯ ที่พัฒนาหม้อแปลงไฟฟ้าใต้ดิน Submersible Transformer Low carbon บริหารจัดการพลังงานที่สิ้นเปลืองให้เกิดประสิทธิภาพ และมีความเสถียรภาพกับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มั่นคง และยั่งยืน ทำให้โรงงานอุตสาหกรรม อาคาร สถานประกอบการ ลดค่าไฟฟ้าได้มากกว่า 5 % (Energy Saving) และลดคาร์บอน 5-10% (Low Carbon) ลดมลพิษ (Low Emission) พร้อมเพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์ยาวนานขึ้น (Long Life Equipment) ซึ่งผลงานดังกล่าวได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย และเป็นต้นแบบให้กับนานาประเทศ และเป็นนวัตกรรมที่สอดรับกับทิศทางของ “เครดิต คาร์บอน” ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกันอยู่ในขณะนื้
ศาสตราจารย์ ดร. พานิช วุฒิพฤกษ์. อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และที่ปรึกษาคณะกรรมการต่างประเทศ วสท. กล่าวว่า เป็นเรื่องน่าชื่นขมที่ประเทศไทยเรามีเทคโนโลยีหม้อแปลงไฟฟ้าใต้ดินที่จะสนับสนุนการนำสายไฟฟ้าลงดินให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ที่ผ่านมาหลายแห่งก็เริ่มนำสายไฟฟ้าลงดินแล้ว แต่ยังติดปัญหาเรื่องของหม้อแปลงไฟฟ้าที่ไม่สามารถนำลงฝั่งลงใต้ดินเพราะหวั่นเกรงในเรื่องของความปลอดภัย แต่ทางโครงการจุฬาลงกรณ์ พิสูจน์ว่าเกิดความปลอดภัยและใช้งานได้จริง
ดร.สมบัติ วนิชประภา ที่ปรึกษา โครงการ CHULA Smart City กล่าวว่า เนื่องจากการนำระบบไฟฟ้าสายใต้ดินอาเซียน หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปสรรคสำคัญมาโดยตลอด ปัญหาจากพื้นที่วางหม้อแปลงบนเสา ที่ดินราคาแพง, ทางเท้าแคบ, หน้าฝนมีความเสี่ยงไฟดูดและไฟช็อต, บดบังหน้าบ้าน, บดบังร้านค้า, อุบัติเหตุที่เกิดกับเสาไฟฟ้าที่มีหม้อแปลง ความปลอดภัยของประชาชน ฯลฯ ฉะนั้น หม้อแปลงใต้ดิน Low Carbon ตอบโจทย์ให้กับโครงการระบบไฟฟ้าสายใต้ดินอาเซียน
หม้อแปลงใต้ดิน Low Carbon จุดเด่นของหม้อแปลงไฟฟ้าใต้ดิน Submersible Transformer Low carbon เป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ การนำสายไฟลงใต้ดินทั้งระบบ เพื่อสร้างมั่นคง ความปลอดภัย โดยไม่บังหน้าบ้าน ไม่บังร้านค้า สร้างทัศนียภาพให้สวยงาม และสร้างความปลอดภัยต่อต่อสังคมและประชาชน และนำเทคโนโลยี IoT ในการควบคุมแรงดันให้เกิดเสถียรภาพ ทำให้การปล่อยกระแสไฟฟ้าเกิดความมั่นคง ไม่สิ้นเปลืองพลังงาน เมื่อไฟฟ้ามั่นคงไม่สิ้นเปลืองเป็นการผลักดันให้เกิดเมืองอัจฉริยะ (Smart City) Low Carbon ที่ทันสมัยยั่งยืนต่อไปด้วย
จากการที่บริษัท เจริญชัยฯ ได้นำหม้อแปลงใต้ดินต้นแบบมาติดตั้งในพื้นที่สยามสแควร์ที่ผ่านมา ก็เริ่มมีคนรู้จักและเข้าใจถึงคุณประโยชน์ของระบบหม้อแปลงดังกล่าวมากขึ้น มีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้มาดูผลงานโมเดลแห่งนี้เป็นจำนวนมาก รวมถึงคณะวิศวกรจากอาเซียนที่เข้ามาเยี่ยมชมล่าสุด ก็มีความสนใจพร้อมที่จะนำไปพัฒนาประเทศของตนเอง
Soni Solistia Wirawan Representative in WG Energy, PII Indonesia กล่าวว่า จากการศึกษาดูงานการนำการนำสายไฟและหม้อแปลง Law Carbon ลงดินในพื้นที่สยามสแควร์นั้น ตนขอชื่นชมเทคโนโลยีประเทศไทย ที่มีความทันสมัย หม้อแปลงใต้ดิน เป็นหม้อแปลงที่นำสายไฟลงใต้ดินทั้งระบบทำให้เกิดความมั่นคง ปลอดภัย ด้านอัคคีภัย ไม่บังหน้าบ้าน ไม่บังร้านค้า สร้างทัศนียภาพให้สวยงาม และสร้างความปลอดภัยต่อสังคมและประชาชน และสถาบันวิศวกรอาเซียนพร้อมจะนำเทคโนโลยีไปพัฒนาประเทศ
สำหรับหม้อแปลงใต้น้ำ Low Carbon ของเจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานรัฐ และสถาบันที่มีชื่อมากมาย เป็นเครื่องการันตีคุณภาพของนวัตกรรม ด้วยรางวัล และประกาศเกียรติคุณ อาทิ Thailand energy awards 2023, ASEAN ENERGY AWARDS 2023, กระทรวงพลังงาน, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA, และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) TGO, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), กรมบัญชีกลาง, สำนักงบประมาณ, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และรางวัลประหยัดพลังงาน ลดคาร์บอน อีกทั้งยังตีพิมพ์วรสารระดับโลก IEEE journal ด้านการประหยัดพลังงานอีกด้วย