สกมช.ร่วม ม.บูรพาจัดกิจกรรม Cyber Security Forum 1/2025 : Risk, Resilience & Response ครั้งที่ 1 ในระบบออนไลน์ เพื่อยกระดับความปลอดภัยไซเบอร์ในระดับประเทศ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ หน่วยงานควบคุมกำกับดูแลและผู้สนใจเข้าร่วมติดตามเป็นจำนวนมาก 

สกมช.ร่วม ม.บูรพาจัดกิจกรรม Cyber Security Forum 1/2025 : Risk, Resilience & Response ครั้งที่ 1 ในระบบออนไลน์ เพื่อยกระดับความปลอดภัยไซเบอร์ในระดับประเทศ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ หน่วยงานควบคุมกำกับดูแลและผู้สนใจเข้าร่วมติดตามเป็นจำนวนมาก 

    เมื่อวันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568  สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพาจัดกิจกรรม Cyber Security Forum 1/2025 : Risk, Resilience & Response ครั้งที่ 1  โดยได้รับเกียรติจาก 

พลอากาศตรี จะเด็ด คูหะก้องกิจ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช เป็นประธานเปิดงาน

     พันตำรวจเอกณัทกฤช พรหมจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศกล่าวรายงานและชี้แจงภาพรวมของการจัดกิจกรรม Cyber Security Forum 1/2025 Rist Resilience & Response ครั้งที่ 1 ว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ หน่วยควบคุมหรือกำกับดูแล และผู้ที่สนใจสามารถประเมินระดับการ

เตรียมความพร้อมและปรับตัวในการสนองตอบต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทำให้สามารถสะท้อนจุดอ่อนจุดแข็ง ในระบบความปลอดภัยในปัจจุบันขององค์กร พร้อมรับมือกับภัยคุกคามใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้หน่วยงานเกิดความมั่นใจ ลดผลกระทบจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ และนำไปสู่การยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับประเทศ

      พลอากาศตรี จะเด็ด คูหะก้องกิจ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวเปิดงานว่า นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้มีการประเมินระดับความเสี่ยงด้านไซเบอร์ ซึ่งเมื่อรับทราบภาพรวมของประเทศว่ามีความเสี่ยงอยู่ในขั้นใด ก็จะเป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศที่จะนำไปสู่การวางแผนรับมือกับความเสี่ยงนั้นๆ  สำหรับในระดับหน่วยงาน อยากให้ทุกท่านได้ช่วยกันนำไปทบทวนว่า หน่วยงานของท่านมีความเสี่ยงอยู่ในระดับใด ซึ่งจะนำไปสู่ความพยายามในการยกระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์ในหน่วยงานได้ แม้จะไม่มีsecurity ที่ดีที่สุดในโลกแต่ก็สามารถเป็น security ที่ดีพอได้ กิจกรรมในวันนี้จึงเป็นเสมือนการประเมินสุขภาพในด้านความปลอดภัยสำหรับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ หน่วยงานกำกับดูแล และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากกิจกรรมครั้งนี้กลับไป

​        ในช่วงต้นของกิจกรรม เป็นการแนะนำเกี่ยวกับการประเมินระดับการเตรียมพร้อมและการปรับตัว (Cyber Resilience Assessment) เพิ่มความพร้อมในการตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ อีกทั้งยังสามารถสะท้อนจุดแข็งจุดอ่อนในระบบการรักษาความปลอดภัยในปัจจุบัน

​     อีกหนึ่ง Highlight ของงาน คือการนำเสนอผลสรุปของการประเมินความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ของประเทศไทย ซึ่งทำให้ทราบถึงระดับความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับกลุ่มหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ กลุ่มหน่วยงานของรัฐ และในภาพรวมของประเทศ ซึ่งจะทำให้สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศในด้านต่าง ๆ สามารถนำไปใช้เพื่อการพิจารณากำหนดแนวทางดำเนินการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ มาตรการในการลดความเสี่ยง และการพิจารณากำหนดนโยบาย และมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศต่อไป โดยมีนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ร่วมกิจกรรมสรุปผลการประเมินความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ในครั้งนี้ ประกอบด้วย รศ.ดร.พงษ์พิสิฐ วุฒิดิษฐโชติ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 

รศ.ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รศ.ดร.ณัฐนนท์ ลีลาตระกูล จากมหาวิทยาลัยบูรพา และ รศ.ดร.สุนิสา ริมเจริญ มหาวิทยาลัยบูรพา 

     คาดหวังว่า กิจกรรม Cyber Security Forum 1/2025  Risk Resilience & Response ครั้งที่ 1 จะสร้างการตระหนักรู้ต่อสาธารณชนในวงกว้างถึงความสำคัญของการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในทุกระดับของสังคมไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *