ตัวแทน 12 กลุ่มสภาวิชาชีพร่วมฟังเสวนา บทบาทวิชาชีพ กับการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านนายกสภานาย ชี้ผู้บริโภคเป็นกลุ่มใหญ่ในสังคมโลก

ตัวแทน 12 กลุ่มสภาวิชาชีพร่วมฟังเสวนา บทบาทวิชาชีพ กับการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านนายกสภานาย ชี้ผู้บริโภคเป็นกลุ่มใหญ่ในสังคมโลก

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ถนนพหลโยธิน มีการจัดงานเสวนาวิชาการ บทบาทสภาวิชาชีพกับการคุ้มครองผู้บริโภค จัดโดยสมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่งประเทศไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศในช่วงเช้าเวลา 09.00 น. มีผู้แทนสภาวิชาชีพจากหลากหลายองค์กร ได้แก่ สภาทนายความ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม สภาเทคนิคการแพทย์ สภากายภาพบำบัด ทันตแพทยสภา สัตวแพทยสภา สภาวิชาการบัญชี สภาวิศวกร สภาสถาปนิก และสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์เข้าร่วมฟังการเสวนาอย่างคับคั่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่าต่อมาในเวลา 10.00 น. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เดินทางมาเป็นประธานในการเปิดงาน

ต่อมาในเวลา 10.00 น. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เดินทางมาเป็นประธานในการเปิดงาน

นายอนุทิน กล่าวว่า ตนเองก็ได้รับเชิญเป็นนายกพิเศษสภาวิศวกร และสภาสถาปนิก จึงรู้สึกยินดีที่สมาพันธ์วืชาชีพฯ มีการจัดงานขึ้นมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความสำคัญ ที่จะต้องได้รับการคุ้มครอง ขณะที่วิชาชีพก็มีคุณค่า มีความรู้ความชำนาญ มีความสำคัญ ทุกฝ่ายสามารถอ้างอิงได้ และช่วยจัดการปัญหาความขัดแย้งต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งจากภาครัฐ หรือเอกชนให้ยุติได้ จนส่งผลทำให้สังคมเกิดความสงบ จึงเปรียบเหมือน”เปาบุ้นจิ้น” ที่ประชาขนผู้เดือดร้อนมาพึ่งพา แต่ท่านจะต้องให้ความเป็นธรรม ซึ่งตนเองในฐานะเป็นตัวแทนภาครัฐพร้อมที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ

นายอนุทิน กล่าวต่อว่า สมัยที่ตนเองดูแลกระทรวงสาธารณสุข เมื่อมีประเด็นว่าประชาชนควรจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือไม่ นอกจากภาครัฐแล้วก็ได้ทางแพทยสภามาช่วยแก้ไขปัญหาและรณรงค์ให้ประชาชนเข้ารับการฉัดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งประชาชนก็เชื่ะและปฏิบัติตาม จนกระทั่งคนไทยเราผ่านปัญหาดังกล่าวมาได้

ในตอนหนึ่ง นายวิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ กล่าวว่า ตนถือว่าผู้บริโภคเป็นเรื่องใหญ่ในสังคมโลก ดังนั้นในฐานะที่ทางสภาทนายความเป็นส่วนหนึ่งที่จัดงานเสวนาในครั้งนี้ เรามีการตกลงกันว่าเรื่องใดที่จะเหมาะสมที่จะจัดการเสวนาในวันนี้ และการเสวนาครั้งนี้ยังถือเป็นครั้งแรกของสภาวิชาชีพในนามสมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่งประเทศไทย ในวันนี้เรายังต้องการให้นายกของสภาวิชาชีพทั้ง 12 แห่งมีโอกาสขึ้นมาพูดเพื่อให้ประชาชนรู้ว่าในแต่ละสภาวิชาชีพมีบริบทในสังคมเป็นอย่างไร

นายวิเชียรกล่าวต่อว่า ในส่วนของสภาทนายความซึ่งเป็นหนึ่งในสภาวิชาชีพทั้ง 12 แห่งนั้น ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2528 โดยก่อนหน้านี้ทนายความอยู่ภายใต้สังกัดการดูแลของศาลอุทธรณ์ เนติบัณฑิตยสภา จนช่วงหนึ่งมีกลุ่มทนายความอาวุโส ไม่ว่าจะเป็นศาสตราจารย์ มารุต บุนนาค ที่รวบรวมสมาชิกที่ประกอบวิชาชีพทนายความ ในการต่อสู้เพื่อยกระดับร่างกฎหมายในการนำมาปกครองกันเอง และมีการตั้งสมาคมทนายความแห่งประเทศในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2500 หลังจากนั้นมีการขับเคลื่อนกันต่อมาเรื่อย ๆ จนได้มาซึ่งพระราชบัญญัติทนายความ 2528 สาระสำคัญที่เป็นวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสภาทนายความขึ้นมานั้นจะอยู่ในมาตรา 7 ของพ.ร.บ.ทนายความ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 5 ข้อ และใน 4 ข้อแรก เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการการผดุงเกียรติและศักดิ์ศรีของการประกอบวิชาชีทนายความและควบคุมมรรยาททนายความ ส่วนอีก 1 ข้อจะเป็นเรื่องการแนะนำการเผยแพร่ ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ทนายความและประชาชน

นายวิเชียร กล่าวต่อว่า ในการทำหน้าที่ทนายความนั้นเราสามารถแยกจากใบประกอบวิชาชีพของทนายความได้ 2 ประเภท คือ กลุ่มทนายความที่มีอายุของใบประกอบวิชาชีพ 2 ปี ซึ่งเมื่อใบอนุญาตครบอายุ ทนายความจะต้องเข้ามาต่อใบอนุญาต และกลุ่มที่มีใบอนุญาตทนายความตลอดชีพ แต่ทนายความกลุ่มนี้ก็ยังต้องเข้ามาต่อใบประกอบวิชาชีพทุก ๆ 6 ปี เพื่อให้รู้ว่าบุคคลดังกล่าวเป็นทนายความจริง ๆ ที่มีตัวตนชัดเจนไม่ใช่ผู้อื่นมาแอบอ้าง ในส่วนคณะกรรมการสภาทนายความก็ยังมีอยู่ 2 คณะ คือคณะบริหารสภาทนายความจำนวน 25 คน และ 23 คนมาจากการเลือกตั้งโดยทนายความทั่วประเทศ มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 3 ปี และอีก 2 คนเป็นผู้แทนจากกระทรวงยุติธรรมและเนติบัณฑิตยสภา

นายวิเชียร กล่าวอีกว่า ยังมีส่วนของคณะกรรมการมรรยาททนายความ ประกอบด้วย ประธานกรรมการมรรยาท รองประธานกรรมการมรรยาท โดยนายกสภาทนายความเป็นผู้แต่งตั้ง มีวาระดำรงงตำแหน่ง 3 ปี และไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้เกิน 2 สมัย ในบริบทของส่วนนี้มีหน้าที่หลักคือการควบคุมดำเนินการพิจารณาคดีมรรยาท และจัดตั้งการเลือกตั้งนายกและกรรมการสภาทนายความ และจากการที่สภาทนายความไม่ใข่หน่วยงานของภาครัฐแต่เป็นภาคเอกชนที่ทำหน้าที่ร่วมกับภาครัฐ คดีมรรยาททั้งหมดเบื้องต้นจึงเป็นอำนาจของประธานกรรมการมรรยาททั้งหมด และกระบวนการสอบสวนทั้งหมดคณะกรรมการบริหารของสภาทนายความไม่สามารถเข้าไปเกี่ยวข้องอีกด้วย จึงเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการมรรยาททั้งหมด หลังจากที่คณะกรรมการมรรยาทพิจารณาแล้วเสร็จจึงเป็หน้าที่ของสภาทนายความเข้าไปดูในส่วนนั้นต่อไป

นายวิเชียร กล่าวอีกว่า ในบริบทส่วนของวิชาชีพทนายความ เนื่องจากเป็นอาชีพอิสระ จะมีทนายความบางส่วนไม่ว่าความ แต่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาร่างนิติกรรมต่าง ๆ และอีกส่วนไม่ถนัดในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับร่างนิติกรรมต่าง ๆ แต่ถนัดในส่วนของการว่าความ และอีกกลุ่มที่สามารถทำได้ทั้ง 2 อย่าง เรายังมีกลุ่มทนายความอาสาที่มีความต้องการที่จะเข้ามาเป็นทนายความอาสาจะต้องมาขึ้นทะเบียนกับสภาทนายความและจะดูแลกลุ่มทนายความอาสาด้วย เมื่อมีประชาชนเข้ามาขอใช้บริการด้านกฎหมาย การให้คำปรึกษาทางสภาทนายความก็จะส่งทนายอาสาเข้าไปให้คำปรึกษาเช่นกันแบบไม่มีวันหยุด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *